ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรที่ดิน
สถานีพัฒนาที่ดินลำปาง

1. ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพบุคลากร สู่องค์กรแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้    มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
     1.1 รวบรวมประมวลความต้องการของผู้ใช้บริการงานพัฒนาที่ดินอย่างเป็นระบบ สามารถส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริง
     1.2 จัดทำระบบฐานข้อมูล ตู้รับบริการงานพัฒนาที่ดินอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การใช้ข้อมูลแผนที่ ภาพถ่าย สถิติ ฯลฯ
     1.3 จัดทำศูนย์เรียนรู้ และจุดเรียนรู้งานพัฒนาที่ดินให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     1.4 พัฒนาบุคลากรให้ผู้มีคุณภาพ สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เพิ่มพูนความรู้ และทักษะในการทำงาน สามารถคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์แก้ปัญหา ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
     1.5 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้กับเกษตรกรเอื้อต่อการเป็นปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร สามารถสร้างผลผลิตและรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร
     1.6 จัดรวมประมวลผลภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรสามารถนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร และเครือข่ายงานพัฒนาที่ดิน    มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
     2.1 ส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรให้เกิดการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง สามารบริหารจัดการกลุ่มของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     2.2 ส่งเสริมความรู้ให้กับหมอดินอาสา และเครือข่าย ให้มีศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญด้านงานพัฒนาที่ดินเพิ่มขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน พัฒนากระบวนการถ่ายทอดความรู้ไปสู่เกษตรกรได้อย่างทั่วถึง
     2.3 ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อการเกษตรสอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มผลผลิต รายได้ให้กับเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม
     2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งชุมชนเมืองและชนบท ในการใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรที่ดิน และสภาพแวดล้อม
     2.5 การบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชน เกษตรกร ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
     2.6 ประสานงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้ทันกับระยะเวลาความต้องการของประชาชน
     2.7 สร้างเครือข่ายการถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างครบวงจรทุกช่องทางเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน และกิจกรรมด้านการพัฒนาที่ดินให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการตระหนักในคุณค่าของการรักษาทรัพยากรที่ดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

3. ยุทธศาสตร์เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรให้มีความอุดมสมบูรณ์    มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
     3.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาที่ดิน เพื่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม โดยจัดทำเขตพัฒนาที่ดิน คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย บูรณาการกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสาธิตงานพัฒนาที่ดินให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไปได้เห็นประโยชน์ของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูปรับปรุงบำรุงดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน
     3.2 จัดทำแหล่งน้ำเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ สระน้ำในไร่นาเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตร เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดิน
     3.3 มุ่งพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการอนุรักษ์ฟื้นฟู และปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการเกษตรให้เป็นแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย รวมทั้งขยายพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรอินทรีย์
     3.4 สนับสนุนการดำเนินงานโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ โดยสร้างทีมงานชุมชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารโรงงาน และขยายการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างฐานการผลิตด้านที่ดินทำการเกษตรให้ปลอดภัย และใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่กลับคืนสู่ผืนดิน
     3.5 ป้องกันและบรรเทาภัยธรรมชาติ อุทกภัย โลกร้อน พื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่มพื้นที่ทิ้งร้าง พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่แล้งซ้ำซาก โดยกำหนดพื้นที่และดำเนินการให้มีการใช้ที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม

4. ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ    มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
     4.1 ส่งเสริมให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐ ยึดถือหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล โดยพัฒนาการทำงานให้มีความเป็นมืออาชีพ ตลอดจนมีสมรรถนะขีดความสามารถในการให้บริการประชาชน ตามแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” สามารถให้ความเห็นและข้อเสนอแนะตามหลักวิชาการ ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกสาธารณะ พร้อมรับการตรวจสอบจากประชาชนและภาคอื่น ๆ
     4.2 ยึดถือ และปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และการมีส่วนร่วมของประชาชน
     4.3 ปรับโครงสร้างของสถานีพัฒนาที่ดินลำปาง ให้มีประสิทธิภาพคล่องตัวและมีสมรรถนะสูง โดยการปรับบทบาทจากผู้ให้และทำให้กับประชาชนเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดการพัฒนา สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยมีการให้ความรู้วิทยาการใหม่ และการบริหารจัดการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่กำหนด โดยคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกร
     4.4 เสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยปฏิบัติงานรับผิดชอบในพื้นที่ภายใต้หลักการยึดพื้นที่ ภารกิจ การมีส่วนร่วม และนำนโยบายแนวทางการปฏิบัติของกรมฯ บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
     4.5 พัฒนาระบบประเมินผลการเสริมสร้างธรรมมาภิบาล โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน รวมทั้งนำผลการประเมินไปใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบในการปฏิบัติงาน
     4.6 ปรับกระบวนการทำงานและระบบบริหารงานด้านการเงิน การพัสดุ การคลัง ให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน โดยปรับระบบการทำงาน และลดขั้นตอนให้น้อยลง
     4.7 สร้างค่านิยมในการทำงานของกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่การงาน และการดำรงตน ดังนี้
               -  ให้มีความรัก หวงแหน และรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร
               -  เชื่อมั่นในคุณค่าของบุคลากร และความเป็นเลิศงานพัฒนาที่ดิน
               -  ตั้งมั่นในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล
               -  ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน
               -  มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกันโดยยึดเป้าหมายงานเป็นหลัก
               -  ยึดมั่นในการดำรงตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
     4.8 มุ่งดำเนินการตามหลักการ 6 ประการของการบริหารจัดการที่ดี คือ
               -  ความคุ้มค่า : บริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่
ส่วนรวม
               -  นิติธรรม : การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย โดย
คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของสมาชิก
               -  คุณธรรม : ความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต
               -  สำนึกรับผิดชอบ : การตระหนักในสิทธิ หน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
ใสใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง
               -  การมีส่วนร่วม : ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจ
               -  ความโปร่งใส : กลไกการทำงานขององค์กรเปิดเผย และตรวจสอบได้