การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน
สถานีพัฒนาที่ดินลำปาง
การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของสถานีพัฒนาที่ดินลำปาง
โดยการวิเคราะห์ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน จากปัจจัยภายใน รวมทั้งวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคหรือข้อจำกัดจากปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรที่ดิน
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง
1. เป็นองค์กรที่สามารถให้ความรู้ทางด้านวิชาการงานพัฒนาที่ดิน
โดยมีระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรที่ดินที่เป็นปัจจุบัน และมีการพัฒนาตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
สามารถให้บริการกับประชาชนได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว
2. มีผลิตภัณฑ์และปัจจัยส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร
ได้แก่ สารเร่ง พด. เมล็ดพันธุ์ พืชปุ๋ยสด นำไปส่งเสริมเผยแพร่ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร
เป็นที่ยอมรับ และมีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์
3. มีบุคลากรและองค์กรเครือข่ายหมอดินอาสาที่มีความรู้ความชำนาญในพื้นที่
สามารถใช้ทักษะในการปฏิบัติงานพัฒนาที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีกลุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างดิน
สพข.6 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการตัดสินใจ การดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว
5. มีสถานที่ศึกษาดูงานด้านพัฒนาที่ดิน
และการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพและสิ่งแวดล้อม
6. มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน
และมีการตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
7. สามารถให้การบริการงานพัฒนาที่ดิน
งานอนุรักษ์ดินและน้ำ ครอบคลุมทุกด้าน
จุดอ่อน
1. การได้รับงบประมาณสนับสนุนล่าช้า
ไม่สอดคล้องกับระยะเวลาในการดำเนินงาน
2. การติดต่อประสานงานระหว่างองค์กร
และเครือข่ายยังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความล่าช้า ความไม่ชัดเจนและขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
3. สถานที่ศึกษาดูงานภายในสถานีพัฒนาที่ดินลำปาง
ยังขาดการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาอย่างเป็นระบบ
4. เครือข่ายหมอดินหมู่บ้าน
ไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเท่าที่ควร ทำให้การดำเนินงานเครือข่ายหมอดินหมู่บ้าน
ไม่มีความต่อเนื่อง ขาดการเชื่อโยงและบูรณาการ
ปัจจัยภายนอก
โอกาส
1. รัฐให้การสนับสนุนนโยบายการเกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิต
เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
2. การส่งเสริมจัดทำเกษตรอินทรีย์
สอดคล้องกับแนวทางปรัชญาพระราชทางเศรษฐกิจพอเพียง
3. การดำเนินงานตามนโยบายของกรมฯ
สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
4. เครือข่ายหน่วยงานภายนอกเป็นภาคีพัฒนาเพื่อขยายงานของกรมฯ
ไปสู่เกษตรกรได้รวดเร็วและทั่วถึง
5. สภาวะสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและอันตรายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ
และที่มนุษย์ สร้างขึ้น ได้แก่ สารเคมี อุทกภัย โลกร้อน ทำให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายพัฒนาที่ดินมากขึ้น
อุปสรรค
1. การดำเนินงานตามโครงการ
กิจกรรมบางส่วนไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
2. พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก
ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรเป็นสิ่งสำคัญในการนำเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ค่านิยม
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเกษตรกรที่มีอยู่เดิมกับการใช้สารเคมีเพื่อให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว
ทำให้การขับเคลื่อนการเกษตรอินทรีย์เป็นไปอย่างล่าช้า
4. เกษตรกรยังขาดการรวมกลุ่มในการจัดการบริหารงานที่เข้มแข็ง
5. การประสานงานเพื่อบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเกษตรกรยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร